Add Friend


LINE
WhatsApp

ชื่อลูกความ : Kanjana

วันที่ปรึกษา: 22 พ.ย. 2565 19.47 น. มีผู้ชม: 1407 ครั้ง


เรื่องการเซ็นพยานในพินัยกรรม

ถ้าภรรยาต้องการทำพินัยกรรม ว่าหากตนเองเสียชีวิต จะขอยกทรัพย์สินของตนเองให้บุตรของตนเองแต่เพียงผู้เดียว พยานที่เซ็นลงชื่อในพินัยกรรม สามารถเป็นชื่อสามี ที่มีการจดทะเบียนสมรสได้ไหมคะ


   

[1] พินัยกรรมแบบธรรมดา
หลักเกณฑ์การทำ
    1. ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (จะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
    2. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
    3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อ ในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการ ลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียว
    4. การขูด ลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะ ที่ขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลง ลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว)ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ไม่มีลายนิ้วมือ) หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องย่อมใช้ไม่ได้

พยานต้องห้าม 

มาตรา 1653 ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตามมาตรา 1663 ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้

จากคำถาม 

สามีไม่ได้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม 

และไม่ได้เป็นคู่สมมรสกับผู้รับพินัยกรรม สามีที่จดทะเบียนสมรสของคุณสามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้คะ (คุณจะต้องไม่ได้เป็นผู้เขียนพินัยกรรม)

แนะนำให้ปรึกษาทนายดีกว่านะคะ เพื่อให้พินัยกรรมมีผลทางกฎหมายคะ 

 

ทนายเหมียว 

0962944461


ทนายเหมียว
บริการด้านเร่งรัดหนี้สิน ด้านกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา การสมรส มรดก ครอบครัว แนะนำการทำนิติกรรมต่าง ๆ การรับรองเอกสาร (Notary) และบริการทางด้านอื่นๆ แบบครบวงจร
โทรศัพท์: 096-2944461
Line ID : lawyermeaw

ลูกความในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
ฟรี ถาม - ตอบ ผ่านทางเว็บบอร์ดตลอด 24 ชั่วโมง
ฟรี โทรปรึกษาทนาย ตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 20.00 น.
มีค่าใช้จ่าย โทรด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ลูกความต่างจังหวัด
ฟรี ถาม - ตอบ ผ่านทางเว็บบอร์ดตลอด 24 ชั่วโมง
มีค่าใช้จ่าย โทรด่วนตลอด 24 ชั่วโมง
© 2017, Allright reserved.
สำนักงาน เนตินนท์ ทนายความ